มะกอมอิบรอฮีม
มะกอมอิบรอฮีม เป็นหินที่ท่านนบีอิบรอฮีมยืนบนนั้น ในขณะที่ท่านนบีอิบรอฮีมดำเนินการสร้างกะบะห์ และเป็นหินซึ่งที่ใช้ยืนเพื่อทำการอาซาน เรียกร้องให้คนมาละหมาด และเรียกร้องให้คนมาประกอบพิธีฮัจย์ และในหินก้อนนั้นยังมีร่องรอยฝ่าเท้าของท่านนบีอิบรอฮีมอยู่ด้วย
และเป็นสถานที่ซึ่งที่หลังจากผู้ที่ทำการตอวาฟเสร็จสิ้นแล้ว จะทำการละหมาดสุนัตหลังการตอวาฟ ณ หลังมะกอมอิบรอฮีม
ภาพภายนอก มะกอมนบีอิบรอฮีม ภาพภายในมะกอมนบีอิบรอฮีม
หินโค้งอิสมาอีล
หินโค้งอิสมาอีล เป็นรูปทรงครึ่งวงกลมอยู่ทางด้านทิศเหนือของกะบะห์ เดิมในพื้นในส่วนหินโค้งเป็นส่วนหนึ่งของกะบะห์ ในยุคยาฮีรียะห์(ยุคมืด) ชาวกุเรชมีงบประมาณสำหรับการบูรณะกะบะห์ไม่เพียงพอ ชาวกุเรชจึงสร้างรั้วล้อมสถานนั้นเพื่อให้ทราบว่า สถานที่บริเวณนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกะบะห์
หินโค้งอิสมาอีล ตั้งอยู่ระหว่างมุมชามีย์และมุอิรอกีย์ บุคคลใดที่ผ่านเข้าไปถึงภายในหินโค้งอิสมาอีลถูกนับว่าเขาอยู่ภายในกะบะห์
การละหมาดในหินโค้งอิสมาอีลเป็นสิ่งที่ถูกสนับสนุนให้กระทำ เพราะว่าถือเป็นการละหมาดภายในกะบะห์ แท้จริงท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ) ได้เข้าไปยังภายในกะบะห์ในปีที่พิชิตนครมักกะห์ และท่านนบีได้ทำการละหมาดสองรอกาอัต และมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะห์ว่า แท้จริงท่านหญิงอาอิชะห์ต้องการเข้าไปยังภายในกะบะห์ ท่านนบีได้กล่าวแก่นางว่า เธอจงละหมาดในหินโค้งอิสมาอีล แม้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากกะบะห์
ภาพภายในหิวโค้งอิสมาอีลจากมุมด้านบน ภาพบรรยากาศการละหมาดในหินโค้งอิสมาอีล